ศาสตราจารย์ ดร.พนอเนื่อง สุทัศน์ ณ อยุธยา นักวิจัยและอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) “คนแรกของประเทศไทย” ใน สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาการวิจัยและพัฒนา อาชีพนักวิจัย ระดับ 8 ตามมาตรฐานอาชีพปี พ.ศ.2564 สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย ออกให้ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2566

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) รับรองคุณภาพวุฒิวิชาชีพเป็น “มาตรฐานอาชีพ” ในการพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพในประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับกำลังคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยสถาบันฯ มีภารกิจในการดำเนินการสร้างการเรียนรู้ต่อระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพให้เป็นที่รู้จัก พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดความตระหนักถึงประโยชน์ของระบบคุณวุฒิวิชาชีพ สนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ มีส่วนร่วมในการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมทั้งประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา สถาบันฝึกอบรม สถานประกอบการ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ให้มีการเผยแพร่การใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และนำมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานสมรรถนะไปใช้เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในแต่ละสาขาวิชาชีพ

               การได้รับการรับรองมาตรฐาน ในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.พนอเนื่อง  สุทัศน์ ณ อยุธยา นักวิจัยและอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านหน่วยสมรรถนะ 12 หน่วย ได้แก่

                              1) สมรรถนะ การถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ บริการ หรือ นวัตกรรม สู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์              

                              2) สมรรถนะ การพัฒนาต่อยอด ขยายผลผลิตภัณฑ์ บริการ หรือ นวัตกรรม พัฒนานโยบาย แผน และยุทธศาสตร์

                              3) สมรรถนะการจัดทำผลงานวิจัยในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการเผยแพร่ / Prepare research results to be ready for publication  

                              4) สมรรถนะเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ผู้ใช้ประโยชน์

                              5) สมรรถนะจัดทำผลงานวิจัยในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการเผยแพร่ / Prepare research results to be ready for publication

                              6) สมรรถนะหาแหล่งโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ / Find sources for research problems to create and develop academic knowledge

                             7) สมรรถนะศึกษาปัญหาและความสำคัญของการวิจัย / Study the problems and importance of research

                             8) กำหนดแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / Define data source and related research

                             9) สมรรถนะทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / Review the literature and related research       

                             10) สมรรถนะทดสอบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรมภาคสนาม (Field Test)  

                             11) สมรรถนะทดสอบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรมภาคสนาม (Field Test) และ

                             12) สมรรถนะปฏิบัติตามจรรยาบรรณนักวิจัย / Comply with the researcher’s code of conduct

               การจัดทำจัดทำมาตรฐานอาชีพโดยกลุ่มคนในอาชีพ และการให้การรับรองสมรรถนะเพื่อย้ำความเป็นมืออาชีพที่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. นั้นเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่หลักในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ สร้างโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามแนวทางที่เป็นสากล รวมถึงเป็นศูนย์กลางเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนของประเทศด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คำสำคัญ

#วิจัยบ้านเด็จฯ #สวพบมส #สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #สถาบันวิจัยและพัฒนาบมส #นักวิจัยมาตรฐานอาชีพ #มาตรฐานอาชีพนักวิจัย #คนแรกของประเทศไทย

ติดตามความเคลื่อนไหว โครงการ ธัชภูมิ ได้ทาง http://research.bsru.ac.th

และ Facebook Fan page : RDIBSRUNEWS (https://www.facebook.com/rdibsrunews)

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย  https://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/5124