ผึ้ง เป็นหนึ่งในสัตว์มหัศจรรย์ทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความสมบูรณ์แห่งโลกพฤกษาพรรณไม้ ด้วยพฤติกรรมของผึ้งในการช่วยผสมเกสรดอกไม้สู่การผลิดอกออกผลต่อการแพร่พันธุ์ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานการเป็นผู้ปรุงแต่งเกสรให้เกิดปฏิกิริยาอย่างละเอียดงดงาม

ผึ้งมีพฤติกรรมมหัศจรรย์อย่างไร

     ผึ้ง เป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรเมตาซัว (Kingdom Metazoa) ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) คลาสอินเซกตา (Class Insecta) อันดับไฮมีนอพเทรา (Order Hymenoptera) ซุเปอร์ แฟมิลี่เอปอยเดีย (Superfamily Apoidea) แฟมิลี่เอปิดี (Family Apidae) ซับแฟมิลี่เอปินี (Subfamily Apinae) สกุลเอปิส (Genus Apis) เป็นแมลงสังคมแท้ชั้นสูง (Highly Eusocial Insects) ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 3 ประการดังนี้ (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ และ สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์, 2555) 1) เพศเมียร่วมกันทำหน้าที่เลี้ยงดูตัวอ่อน  2) มีวรรณะสืบพันธุ์ในสมาชิกเพศเมียบางตัว  และ 3) มีแมลงต่างรุ่นอยู่ร่วมกันอย่างน้อย 2 รุ่น เพื่อช่วยทำงาน โดยมีลักษณะเด่นคือการช่วยผสมเกษรดอกไม้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่ยิ่งใหญ่

ผึ้งและ “มิตรภาพ” กับเกษตรกรในสวนลิ้นจี่

กลุ่มเกษตรกรในตำบลบางสะแกอำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีการจัดทำสวนลิ้นจี่ประกอบไปด้วยกลุ่มเกษตรกรประมาณ 20 กลุ่มซึ่งในการดำเนินงานในเรื่องของการเลี้ยงผึ้งและก็การบริหารจัดการทางด้านของการใช้ผึ้งเพื่อการตอนเกสรและก็นำเอาน้ำผึ้งมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์รวมทั้งการได้ประโยชน์จากการที่เอาขึ้นมาผสมเกสรทำให้เกิดผลผลิตทางด้านของผลไม้ที่เป็นลิ้นจี่ได้ปริมาณมากขึ้น

ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเหล่านี้จะมีการสร้างความร่วมมือและมีการประชุมวางแผนกันเป็นหมู่คณะผ่านการกำกับติดตามโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแกซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ควบคุมและให้การสนับสนุนเพื่อยกระดับคุณภาพด้านการเลี้ยงผึ้งในสวนลิ้นจี่ให้มีปริมาณรายได้ที่เพิ่มขึ้นและก็ลดรายจ่ายและกลุ่มเกษตรกรเหล่านี้นั้นมีการสร้างความสัมพันธ์และมีการติดต่อประสานงานกันโดยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีการปลูกสวนลิ้นจี่และก็มีการเลี้ยงผึ้งผสมผสานกัน โดยกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในตำบลบางสะแกอำเภอทันทีจังหวัด

สมุทรสงครามนั้นมีการก่อตัวและรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนทางด้านของเกษตรกรรมซึ่งมีลักษณะพื้นฐานของการบริหารจัดการภายใต้ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและมีศูนย์การเรียนรู้ซึ่งในศูนย์การเรียนรู้นั้นมีการจัดตั้งเป็นองค์กรการบริหารจัดการซึ่งประกอบไปด้วยประธานรองประธานสมาชิกคณะกรรมการเลขานุการซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีการจัดทำขึ้นโดยผ่านการสนับสนุนจากนายกองค์การบริหาร

ส่วนตำบลบางสะแกและในส่วนของอำเภอทันทีรวมถึงในส่วนของจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งมีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้และช่วยในการกำกับติดตามตลอดถึงการช่วยเหลือเพื่อยกระดับคุณภาพของการบริหารจัดการของสวนลิ้นจี่อย่างเป็นระบบทางนิเวศน์ที่สมดุลธรรมชาติ

รายได้แห่งบ่อทองคำจากผลผลิตการเลี้ยงผึ้งในสวนลิ้นจี่

การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตจากการเลี้ยงผึ้งในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงครามของเกษตรกรกลุ่มสวนลิ้นจี่ ตำบลบางสะแก จังหวัดสมุทรสงคราม  พบว่า ผลผลิตด้านลิ้นจี่ตัวอย่างเกษตรกรกลุ่มสวนลิ้นจี่ตำบลบางสะแกอำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงครามผู้วิจัยได้ดำเนินการคัดเลือกชุมชนมาจำนวน 20 ครัวเรือนโดยเฉลี่ยแล้วครัวเรือนละ 2 ไร่ในการปลูกสวนลิ้นจี่และต่อไร่นั้นจะอยู่ที่ต้นลิ้นจี่ประมาณ 20 ต้นซึ่งผลจากการเก็บข้อมูลและรวบรวมการปลูกลิ้นจี่พบว่าเกษตรกรในแต่ละส่วนนั้นจะปลูกต้นลิ้นจี่อยู่ที่ประมาณ 20 ต้นและมีการใช้ต้นทุนในการผลิตที่หลากหลายเช่นการใช้ปุ๋ยการให้น้ำการใช้ระบบไฟฟ้าการจ้างแรงงานคนและการกำจัดวัชพืชตลอดถึงในเรื่องของการควบคุมดูแลคุณภาพของต้นลิ้นจี่และยังพบว่าการโครงการนั้นมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูงโดยเฉลี่ยจะที่ประมาณ 10,000 บาทและหลังจากโครงการหมายความว่าผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบในเรื่องของการใช้รังผึ้งและมีการให้ผึ้งน้ำผสมเกสรและก็มีการนำเอาน้ำผึ้งไปจำหน่ายพบว่าหลังจากโครงการได้จบลงนั้นเกษตรกรมีต้นทุนของการดูแลต้นลิ้นจี่ลดลงเนื่องจากว่าพึ่งเป็นตัวกลางที่ช่วยทำให้เกิดการสร้างผลผลิตได้เพิ่มมากขึ้นและโดยเฉลี่ยของหลังโครงการแล้วต้นทุนจะอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาทจากการค้นพบนี้นำไปสู่ในเรื่องของการวางแผนและแนวทางของการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ในการเก็บผลผลิตของเกษตรกรในตำบลบางสะแกอำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงครามนั้นเกษตรกรจะมีการให้ลูกจ้างมาเก็บลิ้นจี่ในสวนโดยจัดทำเป็นกระสอบและชั่งเป็นกิโลกรัมซึ่งจะมีรถมารับซื้อโดยปกติทั่วไปนั้นเกษตรกรจะมีการชั่งกิโลขายถ้าหากว่าเป็นฤดูกาลที่ลิ้นจี่มีการติดผลจะอยู่ที่ ต้นละ 70 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 158 บาท รายได้เฉลี่ย 150,000 บาท/ไร่ ซึ่งต้นทุนการผลิต (ลดลงโดยเฉลี่ย) พบว่า เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิตและการดูแลต้นลิ้นจี่โดยการเลี้ยงผึ้งให้ผึ้งนั้นผสมเกสรและนำเอาน้ำหวานจากเกสรมาใช้ในการสร้างรังผึ้งเลี้ยงลูกอ่อนนั้น พบว่า ต้นทุนในการผลิต ได้แก่ ยากำจัดศัตรูพืช สารเคมี ปุ๋ย ตลอดถึงการว่าจ้างลูกจ้างและการดูแลควบคุมระบบน้ำและไฟฟ้าต่าง ๆ พบว่า ต้นทุนการผลิตก่อนที่จะมีโครงการดังกล่าวอยู่ที่ค่าเฉลี่ยประมาณ 11,370 และเมื่อมีโครงการแล้ว พบว่า ต้นทุนอยู่ที่ 9,650 บาท ลดลงประมาณ 15.13%

จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา และคณะ, 2566