ในการพัฒนาสื่อที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตใหม่ที่ใช้สำหรับการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมทางสังคม เพื่อเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมของชุมชนลาวเวียง โดยเลือกวัฒนธรรมด้านการรำ และ วัฒนธรรมด้านอาหาร เช่น วัฒนธรรมของชุมชนลาวเวียง ที่มีวัฒนธรรมด้านการรำ และ วัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ชุมชนลาวเวียงโดยสื่อและเนื้อหาทางวัฒนธรรมของสื่อที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ตามแนวชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งการเรียนไม่ได้จำกัดแค่ในห้องเรียน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 30 มิถุนายน 2563) ในการพัฒนาสื่อที่มีความต้องการถ่ายทอดสื่อที่เหมาะสมสำหรับชีวิตวิถีใหม่ที่มีความหลากหลายในการรับรู้ผ่านสื่อ เพื่อให้สื่อที่พัฒนาขึ้นมีการเข้าถึงได้ทุกช่วงวัย ดังนั้นในการพัฒนาสื่อมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) การผลิตสื่อออนไลน์บนยูทูป สำหรับเยาวชนและครู ประชาชนทั่วไปในชุมชน เพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรมและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมสำหรับชุมชน
ตัวอย่างสำหรับการพัฒนาสื่อเพื่อการถ่ายทอดวัฒนธรรม โดยเลือกวัฒนธรรมด้านการรำ และ วัฒนธรรมด้านอาหารของชุมชนลาวเวียง เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 200 คน และ สื่อสำหรับประชาชนทั่วไปที่มีภูมิลำเนาในชุมชนและเข้ามาทำกิจกรรมต่างๆในวัด ในเขตอำเภอ จำนวน 200 คน เพื่อนำเสนอมีความความพึงพอใจเป็นอย่างมากที่ใช้สื่อนำเสนอผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับชีวิตวิถีใหม่เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสร้าง ภูมิคุ้มกันทางสังคม ด้วยวัฒนธรรมลาวเวียง จังหวัดราชบุรี ที่กระบวนการมาจากการสนทนากลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญสำคัญเพื่อให้ได้การสร้างสื่อต้นแบบ โดยมีกระบวนการประเมินเนื้อหา เทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่มีความเที่ยงตรงระหว่างสื่อ และกลุ่มบุคคลที่ใช้สื่อ และเนื่องจากกลุ่มบุคคลมีความหลากหลายทั้งทางด้านอายุ ความพร้อมของเทคโนโลยี และวิธีการเข้าถึง เช่นการใช้ Quick Response (QR Code) หรือลิงก์เชื่อมโยงไปยังสื่อผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้ผ่านเทคโนโลยี จากการพัฒนาสื่อสิ่งที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม ที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนประกอบของกิจกรรมการเรียนรู้การถ่ายทอดวัฒนธรรม โดยเลือกวัฒนธรรมด้านการรำ และ วัฒนธรรมด้านอาหารของชุมชนลาวเวียง ทางด้านสื่อออนไลน์ที่ต้องมีผู้ใช้สื่อที่เป็นเยาวชน ครูประชาชน สถาบันการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและชุมชน ภาคีจากภาคสังคม และนักวิจัยจากชุมชนท้องถิ่น จากการสร้างสื่อส่งผลประโยชน์ให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญาที่มาจากงานวิจัย เกิดความร่วมมือของหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคชุมชน และเครือข่ายโรงเรียน ได้แนวปฏิบัติแผนการสร้างภูมิคุ้มทางสังคมให้แก่เยาวชนและประชาชนผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรมชุมชน และเกิดกการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและสร้างภูมิคุ้มทางสังคมให้แก่เยาวชนและประชาชน ด้วยการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมร่วมกัน (จากงานวิจัย เรื่องการพัฒนาสื่อสำหรับชีวิตวิถีใหม่เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมและสร้างภมิคุ้มกันทางสังคม จากวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดราชบุรี โดยใช้ศาสตร์พระราชา บ-ว-ร (บ้าน วัด ราชการ-โรงเรียน)) จากคณะผู้วิจัย ศ.ดร. พนอเนื่อง สุทัศน์ ณ อยุธยา ผศ.ดร. นนท์ณธี ดุลยทวีสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และ เรืออากาศตรี วิเชียร พุทธานักวิจัยชุมชน




ภาพจากการพัฒนาสื่อสำหรับชีวิตวิถีใหม่เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมและสร้างภมิคุ้มกันทางสังคม จากวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดราชบุรี โดยใช้ศาสตร์พระราชา บ-ว-ร (บ้าน วัด ราชการ-โรงเรียน))
เคล็ดลับสำคัญในการพัฒนาสื่อนั้นจำเป็นต้องศึกษาองค์ประกอบให้รอบด้านที่ประกอบไปด้วย กลุ่มเป้าหมาย วิธีการถ่ายทอด เนื้อหาสาระ ช่องทางการเข้าถึง รูปแบบวิธีการเข้าถึง ที่ต้องการสื่อสารให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายนั้นสามารถเข้าถึง นอกจากนี้ในการพัฒนาสื่อยังจำเป็นต้องมีกระบวนการที่สำคัญคือการได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆเพื่อประเมินระดับความเหมาะสมของเนื้อหา และความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งอ้างอิง
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2561). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนประจำปี 2560.
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). นวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2000. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น
ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธิดาพร ชนะชัย. (2550). New Media Challenges : Marketing Communication Through New Media. http://commarts.hcu.ac.th/imagesacademic_article/nok/new_media_newchallenges.pdf
พระบาทสมเด็จพระเธียรมหาราชเจ้า. (2470). ปฐมวงศ์ (พระบรมราชมหาจักรีกษัตริย์สยาม) พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระเธียรมหาราชเจ้า. โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย.
มหาสิลา วีระวงศ์. (2535). ประวัติศาสตร์ลาว. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เยาวลักษณ์ เตียรณบรรจง และคณะ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมิเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
วชิราภรณ์ สังข์ทอง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เครือข่ายทางสังคมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม สำหรับเด็กและเยาวชน (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
สมทรง บุรุษพัฒน์, สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, สุมิตรา สุรรัตน์เดชา, ณรงค์ อาจสมิติ, ปัทมา พัฒน์พงษ์, และ พิเชฐ สีตะพงศ์. (2554). ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทยวนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(1), 79–106. https://doi.org/10.14456/lartstu.2019.4
สุชาดา โชคเหมาะ. (2539). Electronic Books: รูปแบบและการใช้. ข่าวสารสำนักหอสมุดกลาง. 1-11.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (12 กุมภาพันธ์ 2561). กรมสุขภาพจิตเผย ยอดเด็กติดเกมพุ่ง 6
เท่า. https://www.thaihealth.or.th/Content/40775
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (30 มิถุนายน 2563). ชีวิตวิถีใหม่ของ “เด็กไทย” New
Normal For Thai Children. http://ashthailand.or.th/smartnews/post/detail/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานประจำปี 2565 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib9/สิ่งพิมพ์รายงานประจำปี/yearbook2562.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติใ (2562). สถิติทางการประเทศไทย
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). 3 สร้าง ทางรอดสังคมไทย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (30 มิถุนายน 2563). ชีวิตวิถีใหม่ของ “เด็กไทย” New
Normal For Thai Children. http://ashthailand.or.th/smartnews/post/detail/