1. การพัฒนาระบบการนำองค์กร

  • จัดให้มีการบริหารจัดการเชิงรุก โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน บนพื้นฐานข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะข้อมูลความต้องการของสังคมเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
  • สร้างระบบการพัฒนาและประเมินศักยภาพผู้บริหาร สภา และบุคลากรทุกระดับเพื่อให้มีคุณภาพคุณลักษณะ/และสมรรถนะในระดับที่พร้อมปฏิบัติงาน
  • สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาระบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศระดับสากล

2. การพัฒนาอาจารย์ และบุคลากรสู่ความเป็นเลิศ

  • อาจารย์และบุคลากรมีจำนวนเพียงพอ  มีคุณภาพ และศักยภาพตรงกับความต้องการในการผลิตบัณฑิต
  • อาจารย์มีคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการ คือ
    1) มีคุณธรรมและมีความเป็นครู
    2) มีทักษะศิลปะและประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้
    3) มีทักษะภาษา และเทคโนโลยี
    4) มีทักษะในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
  • บุคลากรมีจำนวนเพียงพอ มีจิตบริการ มีคุณภาพ และสมรรถนะตรงตามภาระงาน และมีจิตอาสา
  • สร้างเครือข่ายการพัฒนา คณาจารย์ และบุคลากรร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับชาติ ประชาคมอาเซียน และระดับโลก

3. การผลิตบัณฑิตคุณภาพ

  • พัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพโดยมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และมีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เน้นให้มีคุณธรรม มีสุขภาพอนามัยดี มีทักษะวิชาการ มีทักษะทางภาษา และเทคโนโลยี มีจิตอาสา สู้งาน/รักงาน และมีทักษะการทำงาน มีความสามารถในการปรับตัว ให้เข้ากับสภาพงาน สังคมที่เปลี่ยนแปลงและบริบทของอาเซียน และนานาชาติ
  • ประเมินติดตามบัณฑิต หลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน และนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
  • พัฒนาบัณฑิตอัจฉริยภาพด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสาขาอื่นๆ ในโครงการช้างเผือก

4. การบริหารงบประมาณ/การเงินสู่ความเป็นเลิศ

  • ใช้ข้อมูลทางการเงิน / ต้นทุนต่อหน่วย คุณภาพ (Quality Unity  Cost) ในการบริหารจัดการทางการเงิน
  • ระดมทรัพยากร และงบประมาณจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเป็นเลิศด้านภาษา วิจัยและการผลิตบัณฑิต
  • การสร้างกองทุนพัฒนามหาวิทยาลัย (BSRU Fund)

5. การสร้างความเป็นเลิศด้านวิจัย วิชาการ ภาษา ศิลปวัฒนธรรม และกีฬา

  • ระดมผู้เชี่ยวชาญที่มีความเป็นเลิศในสาขาวิชาต่างๆ ระดับประเทศ และระดับนานาชาติเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ร่วมสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และงานวิจัย เพื่อผลักดันมาตรฐานประชากรของมหาวิทยาลัย
  • พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรม อาเซียนศึกษา ภาษานานาชาติ และศูนย์กลางการวิจัย

6. การบริการวิชาการสู่ชุมชนทั้งในประเทศ ประชาคมอาเซียน และนานาชาติ

  • พัฒนาองค์ความรู้ และบุคลากรที่มีคุณภาพ และศักยภาพที่สามารถบูรณาการสู่การให้บริการวิชาการสู่ชุมชน
  • พัฒนาระบบการให้บริการวิชาการสู่ชุมชนที่เชื่อมโยงบูรณาการ กับพันธกิจด้านต่างๆ อีกทั้งการจัดระบบงบประมาณ/การเงินและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และนานาชาติ โดยเฉพาะด้านภาษาอังกฤษ : การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ , การพัฒนาศูนย์ทดสอบภาษาอังกฤษ : BSRU TEST  ฯลฯ

7. การจัดการองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนางานด้านต่างๆ

  • พัฒนาระบบในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกมาตรฐานวิชาการ การวิจัย และเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพของงาน และลดความเสี่ยงในการทำงาน
  • ใช้เทคโนโลยีในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การเข้าถึงความรู้ จากทุกมุมโลก